โรคหอมเลื้อย หรือ โรคแอนแทรคโนสในหอม (Anthracnose)
โรคหอมเลื้อยสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Penz) Sacc.

เป็นโรคที่สำคัญของหอม อาการมักเริ่มเกิดขึ้นที่บริเวณโคนใบหรือระดับคอดิน ทำให้ใบ ลำต้นโค้งงอ หักพับ ต้นเอนเลื้อย แผลอาจเกิดขึ้นที่บริเวณใบก็ได้ แผลจะเริ่มจากเป็นจุดสีขาวเล็กๆ ต่อมาขยายออกเป็นจุดที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและยังคงมีสีขาว แผลขยายออกตามความยาวของใบ เกิดเป็นสีครีมอ่อน บริเวณแผลมักจะปรากฏเป็นตุ่มเล็กๆ สีน้ำตาล สีดำ หรือสีส้ม ในลักษณะเยิ้ม ซึ่งตุ่มเล็กๆเหล่านี้มักเกิดเรียงกันเป็นวงรีซ้อนกัน

การป้องกันกำจัด
หากพบการเข้าทำลายในระยะแรกหรือป้องกันฉีดพ่นด้วย รัชโกร (carbendazim25%+prochloraz25% WP) อัตรา 25 กรัม หรือ ไซซอกซี่ (azoxystrobin25% W/V SC) อัตรา 10 มิลลิลิตร หรือ ไซราซ (prochloraz45% W/V EC) อัตรา 10-15 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน หากพบการระบาดของโรคหอมเลื้อย หรือแปลงหอมมีความชื้นสูง ฉีดพ่นสารกำจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพ ด้วยสารที่ออกฤทธิ์ดูดซึมร่วมกับสัมผัส พ่น 2-3 ครั้ง ห่างกันไม่เกิน 5-7 วัน เช่น รัชโกร (carbendazim25%+prochloraz25% WP) อัตรา 25 กรัม หรือ ไซซอกซี่ (azoxystrobin25% W/V SC) อัตรา 10 มิลลิลิตร หรือ ไซราซ (prochloraz45% W/V EC) อัตรา 10-15 มิลลิลิตร ผสมร่วมกับ โคแนน (mancozeb 80% WP) อัตรา 50-80 กรัม อัตราแนะนำ ต่อน้ำ 20 ลิตร

 


Number of visitors : 715490 Views

Sitemap