เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน (Durian psyllid)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allocaridara malayensis (Crawford)
วงศ์ (Family) : Psylidae
อันดับ (Order) : Hemiptera

ลักษณะการทำลาย
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนของทุเรียน ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโตและเล็กผิดปกติ เมื่อระบาดมากๆ ใบจะหงิกงอ แห้งและร่วงหมด นอกจากนั้นยังทำให้ยอดอ่อนแห้งและตายได้ ตัวอ่อนของเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนจะขับสารสีขาวออกมา เป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อราตามบริเวณที่สารสีขาวขับออกมา ระยะที่ทำลายมากที่สุดคือ ในระยะตัวอ่อน ตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้วางไข่เข้าไปในเนื้อเยื่อพืช ทำให้เห็นเป็นวงสีเหลืองหรือน้ำตาลตามใบเป็นกลุ่มๆ กลุ่มหนึ่งมีประมาณ 8 - 14 ฟอง หลังจากนั้นไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อนขนาดยาวประมาณ 3 ม.ม. และมีปุยสีขาวติดอยู่ตามลำตัว โดยเฉพาะด้านท้ายของลำต้นมีปุยสีขาวคล้ายกับหางไก่ แมลงชนิดนี้จึงได้ชื่อว่า "เพลี้ยไก่แจ้" หรือ "เพลี้ยไก่ฟ้า" เมื่อแมลงนี้ลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเขียว ขนาดยาวประมาณ 5 ม.ม. มีอายุได้นานถึง 6 เดือน มักไม่ค่อยบินนอกจากได้รับความกระทบกระเทือน ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะอาศัยอยู่ด้านหลังใบตลอดเวลา

การป้องกันและกำจัด
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน จะเข้าทำลายเฉพาะใบอ่อนของทุเรียน ดังนั้น ควรฉีดพ่นสารกำจัดแมลงในช่วงระยะทุเรียนแตกใบอ่อน พ่นทุก 7-10 วัน ด้วย ไซมิดา70 (imidacloprid 70% WG / กลุ่ม IRAC: 4A) อัตรา 5-10 กรัม, หรือ ไซนิว (fipronil 5% W/V SC / กลุ่ม IRAC: 2B) อัตรา 10-20 มล., หรือ ไซซั่น (carbosulfan 20% W/V EC / กลุ่ม IRAC: 1A) อัตรา 30-40 มล., หรือ เฟทสตาร์75 (acephate 75% SP / กลุ่ม IRAC: 1B) อัตรา 20-40 กรัม อัตราแนะนำต่อน้ำ 20 ลิตร

 


Number of visitors : 715464 Views

Sitemap